บทที่5

การจัดทำแผนการฝึกทางกลุ่มครูผู้สอนจัดทำแผนการฝึกโดยการแก้ปัญหามาตลอด ในแนวทางปฏิบัติจะนำเอาปัญหาของแต่ละสถาบันมาวิเคราะห์ก่อน ว่าเกิดปัญหาอะไรบ้างแล้วนำเอาปัญหาเหล่านั้นมาแก้ไขแล้วจึงลงมือปฏิบัติ คือ เมื่อไม่มีเวลาในการฝึกซ้อมเพราะปัญหาการจัดระบบการเรียนของโรงเรียน จึงแก้ปัญหาตรงจุดนี้ด้วยการเข้าค่ายฝึกซ้อมถึงจะแก้ปัญหาได้ ด้านค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารนั้นทางโรงเรียนจะเลี้ยงมื้อเย็น 1 มื้อ ส่วนเช้าและกลางวันนักเรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบเองเพราะเป็นเวลาเรียนปกติ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสมาคมเป็นผู้จ่ายให้
โรงเรียนที่ 3 การวางแผนในการจัดทำแผนการฝึกประจำปีจะต้องวางโครงการว่าใน 1 ปี จะทำอะไรบ้าง แล้วแบ่งเนื้อหา ระยะเวลา และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ประกอบด้วย พื้นฐานเบื้องต้น ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน หลังจากนั้นจะแบ่ง Section ให้นักเรียนได้ฝึกซ้อมตามกระบวนการ โดยมีกลุ่มครูผู้สอนร่วมกับนักเรียนรุ่นพี่ที่มีความสามารถที่ฝึกรุ่นน้อง ได้ แบ่งให้รับผิดชอบในแต่ละ Section และการรวม Section เป็น Part แต่ละ Section แต่ละ Part จะมีหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ดูแลการฝึก และนอกจากนั้นยังจัดให้มีหัวหน้าแผนกรับผิดชอบในส่วนต่างๆ
การกำหนดวันเวลาในการฝึก วันจันทร์ - วันศุกร์ ฝึกซ้อมวันละ 1 ชั่วโมง คือระหว่างเวลาเวลา 17.00 - 18.00 น ทั้งนี้เพราะนโยบายของโรงเรียนวางไว้ว่าช่วงระหว่างเวลา 16.00 - 17.00 น. เป็นเวลาที่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนต้องเรียนพิเศษ จึงไม่สามารถฝึกซ้อมในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เพราะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนวงโยธวาทิตได้เรียนพิเศษด้วย จึงมีการฝึกซ้อมเพียงวันละ 1 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะมีเวลาในการฝึกซ้อมจะน้อย แต่การกำหนดเนื้อหาสาระในการซ้อมจะให้วันละไม่เกิน 2 - 3 บรรทัด การฝึกซ้อมจะเน้นในเรื่องของแบบฝึกหัดในระยะที่นักเรียนเริ่มฝึกใหม่ เมื่อฝึกได้ 2 - 3 เดือน จะเริ่มให้ฝึกบทเพลงโดยเริ่มจากเพลงพื้นฐานง่ายๆ ไปสู่เพลงที่ยากขึ้นตามลำดับ
วันเสาร์ 09.00 - 16.00 น. การวางแผนการฝึกค่อนข้างสมบูรณ์เพราะมีเวลามากพอสมควร ช่วงนี้จะฝึกระเบียบแถว ซ้อมบทเพลง การแปรขบวน และอื่นๆ
การเข้าค่ายเพื่อติวเข้มเรื่องนี้ทางโรงเรียนเน้นมากเพราะเห็นความสำคัญว่า การเข้าค่ายจะมีเวลามากเพียงพอกับการฝึกซ้อม นักเรียนจะได้รับความรู้มากกว่าวันธรรมดาที่มีการซ้อมเพียง 1 ชั่วโมง ถือเป็นการทดแทนเวลาที่เสียไป ระยะเวลาที่เข้าค่ายจะเข้าปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนตุลาคม และเดือนเมษายน จะฝึกซ้อมรวมกันทั้งหมด ผู้ที่ฝึกใหม่จะได้รับการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องประมาณ 6 เดือน นักเรียนจะออกงานในพิธีการที่ง่ายๆได้
โรงเรียนที่ 4 การจัดทำแผนการฝึก โดยฝึกซ้อมวัน 1 ชั่วโมงครึ่ง ระหว่างเวลาเวลา 16.30 - 17.40 น. การฝึกซ้อมประจำวันส่วนใหญ่จะซ้อมแบบฝึกหัด โดยกำหนดไว้ก่อนว่าในแต่ละวันจะสอนอะไรให้กับนักเรียน เช่น การเป่าเสียงยาว (Long Tone) การใช้ลิ้น (Tunging) หรือการใช้ลม (Slur) เป็นต้น การสอนจะสอนพร้อมกันบนกระดานดำ เพราะการแยก Section นั้นไม่มีเวลาปฏิบัติมากนัก นอกจากมีกรณีพิเศษอย่างเช่นต้องไปออกงาน หรือมีเพลงใหม่เพิ่มก็จะแจกโน้ตให้นักเรียนได้ดูในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อ ให้ได้ผ่านสายตา แล้วจึงซ้อมรวมวงซึ่งค่อนข้างจะช้ามาก แต่ต้องปฏิบัติแข่งกับเวลาที่มีอยู่ไม่มากนักจึงต้องใช้วิธีการสอนดังกล่าว ข้างต้น
การวางแผนการฝึกได้วางโครงการไว้ตลอดปี คือได้คาดไว้ว่าถึง ณ จุดนั้นๆควรจะมีพัฒนาการไปมากน้อยระดับไหน แต่ละปีเป้าหมายของการซ้อมจะอยู่ตรงจุดไหน เพลงที่ต้องฝึกซ้อมเพื่อใช้งานจะได้ประมาณกี่เพลง ต้องกำหนดไว้ก่อนตั้งแต่ก่อนเปิดภาคเรียน ลักษณะที่วางไว้คือการใช้ฝึกกับนักเรียนเก่าที่ฝึกมาแล้ว 1 ปี ส่วนนักเรียนใหม่จะฝึกความรู้เบื้องต้น และจะเข้ารามวงในตอนหลังปีใหม่โดยเข้ามาฝึกร่วมกับรุ่นพี่เริ่มด้วยแบบ ฝึกหัดง่ายๆ
การวางแผนในการกำหนดการเรียนการสอน ได้กำหนดการสอนทฤษฎีและปฏิบัติให้กระทำไปพร้อมๆกัน การใช้แบบฝึกหัดประกอบการฝึกซ้อมปัจจุบันถือว่าได้ผลดีมาก เพราะไม่เสียเวลามากนัก ความรู้ที่นักเรียนได้รับจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกันทั้ง 2 อย่างในเวลาเดียวกัน นักเรียนจะฝึกตามขั้นตอนคือ เริ่มจากแบบฝึกหัดที่ง่ายไปสู่แบบฝึกหัดยากขึ้น คำศัพท์ทางดนตรีและเครื่องหมายต่างๆนักเรียนจะเรียนรู้ได้ในแบบฝึกหัดแต่ละ บท ในขณะเดียวกันนักเรียนจะได้ปฏิบัติไปพร้อมกัน ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนทฤษฎีก่อน เมื่อจบแล้วจึงมาเริ่มปฏิบัติ บางครั้งอาจลืมสิ่งต่างๆที่เรียนมาแล้วก็ต้องกลับไปเริ่มต้นทบทวนใหม่ เนื้อหาส่วนใดที่ยากต่อการทำความเข้าใจด้วยตนเอง ครูผู้สอนจะอธิบายเสริมให้นักเรียนได้เข้าใจ เพราะเรื่องบางเรื่องนักเรียนอ่านแล้วจะไม่เข้าใจยิ่งขึ้น ครูผู้สอนจึงมีส่วนในเรื่องดังกล่าว
การจัดทำแผนการฝึก จะดำเนินการในแผน 1 ปี โดยตั้งเป้าไว้ว่าตอนปลายปีจะมีการโชว์ 1 ครั้ง และต้องกำหนดว่าต้องใช้เพลงในการโชว์ทั้งหมดกี่เพลง แนวทางในการแปรขบวนเป็นไปในรูปแบบใด การโชว์จะกำหนดในช่วงเดือนพฤศจิกายน การเริ่มฝึกซ้อมเพลงในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม หลังจากนั้นจึงดำเนินการฝึกภาคสนาม สิ่งที่กล่าวมาคือการโชว์ปกติที่จะต้องทำทุกปี ไม่ได้ฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน แต่ทางโรงเรียนได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าใน 1 ปี ต้องจัดทำรูปแบบการแปรขบวนอย่างน้อย 1 ชุด ที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องจากนักเรียนจะได้ไม่ขาดประสบการณ์ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้จะนำมาแบ่งย่อยเป็นตารางการฝึกซ้อมรายเดือน โดยคาดหวังว่าภายใน 1 เดือน นักเรียนจะเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด ความสามารถทางการรับรู้ของนักเรียนน่าจะพัฒนาไปในระดับใด สิ่งที่นักเรียนยังขาดในบางเรื่องต้องเสริมให้เข้าใจยิ่งขึ้น และการวางโครงการดังกล่าวต้องประเมินล่วงหน้าว่าจำนวนสมาชิกที่จะใช้ในการ โชว์มีทั้งหมดกี่คน เพื่อเตรียมเสริมสมาชิกในปีต่อไปตามเป้าหมายที่จะดำเนินการ ขอบเขตของการโชว์อยู่ในระดับไหน จึงต้องพยายามเสริมให้ได้จำนวนนักเรียนตามความต้องการ ถ้าไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดผลเสียจะเกิดขึ้น ซึ่งจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ตลอดไป
การเข้าค่ายฝึกซ้อม จากการจัดทำแผนการฝึกเดิมที่วางไว้การฝึกซ้อมจะกำหนดตอนสอบเสร็จแล้วเริ่ม ฝึกซ้อม แต่ละครั้งมีการกำหนด 5 วัน หรือ 10 วัน ก่อนให้นักเรียนกลับบ้าน การฝึกซ้อมดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงใช้วิธีการใหม่ คือ ถ้าเข้าตอนก่อนเปิดภาคเรียนจะได้ผลดีกว่า เพราะเมื่อออกจากค่ายฝึกซ้อมแล้วจะสามารถซ้อมต่อในช่วงวันปกติเพราะเป็นช่วง ต่อกับการเปิดเรียนพอดี แต่ถ้าซ้อมตอนเริ่มปิดภาคเรียนเมื่อออกจากค่ายแล้วนักเรียนจะทิ้งไปนาน การฝึกซ้อมจะไม่ต่อเนื่อง ช่วงระยะเวลาการฝึกซ้อมที่เหมาะสมคือ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม การซ้อมในช่วงนี้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะฝึกซ้อมตามแผนการฝึก และตามกระบวนการที่วางไว้ต่อไป ครั้งที่ 2 คือ เดือนตุลาคม มี 2 ระบบที่สามารถกระทำได้ คือระบบการซ้อม 6 วัน พัก 1 วัน และอีกระบบหนึ่งคือซ้อม 10 วัน แล้วปล่อยนักเรียนกลับบ้าน จากที่ทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบ การซ้อม 6 วัน พัก 1 วัน ทั้งเดือนที่ปิดภาคเรียน และอาทิตย์สุดท้ายจะหยุด 5 วัน จะดีกว่าระบบซ้อม 10 วัน การซ้อมแบบหลังคือฝึกซ้อม 10 วัน ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะการจัดกิจกรรมในการฝึกไม่ต่อเนื่อง
การฝึกซ้อมในเวลาเรียนไม่มีอยู่ในแผนการฝึก แต่บางครั้งต้องใช้เวลาเรียนมาฝึกซ้อมดนตรีเป็นครั้งคราว ถ้าเวลาที่ต้องฝึกซ้อมไม่พอจริงๆ ในกรณีที่มีงานเร่งด่วนเข้ามา หรือกิจกรรมที่จะทำนั้นมีความสำคัญมาก
การบริการชุมชน บางครั้งที่มีผู้ขอใช้บริการมามักได้รับคำปฏิเสธ เพราะเป็นเวลาเรียน แต่ถ้าเป็นงานของผู้มีบุญคุณต่อโรงเรียนจริงๆก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ส่วนราชการที่ขอใช้บริการมามีน้อยมาก เพราะมีวงรองรับหลายวง นอกจากมีงานรับเสด็จฯ ทางจังหวัดจึงจะใช้บริการวงโยธวาทิตของโรงเรียน

โรงเรียนที่ 5 การจัดทำแผนการฝึกต้องมีการวางแผนที่ดี ทั้งนี้เพื่อให้งานที่ออกมามีคุณภาพ ดังนั้นครูผู้สอนต้องวางแผนและกำหนดเป็นเกณฑ์หรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ โดยกำหนดแผนการฝึกซ้อมไว้ 1 ภาคเรียน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ
1. การวางแผนระยะยาว จะนับวันถอยหลังโดยทำเป็นตารางว่าวันไหนทำอะไร
2. ในเวลาเรียนปกติ ใช้เวลาฝึกซ้อมวันละ 2 ชั่วโมง คือระหว่างเวลา 15.45 - 17.45 น. เฉพาะวันจันทร์ - พุธ - ศุกร์ ซ้อมนั่งบรรเลง วันอังคาร - วันพฤหัสบดี ซ้อมภาคสนาม ส่วนวันพุธบางครั้งนักเรียนจะประชุมสวดมนต์ วันเสาร์ การฝึกซ้อมจะกำหนดโดยจะสลับกันระหว่างการซ้อมนั่งบรรเลงและการซ้อมเดิน บรรเลง
3. วันเสาร์ใช้ช่วงเวลาครึ่งวันบ่ายในการฝึกซ้อม บางครั้งใช้เต็มวัน ถ้ามีงานที่เร่งด่วนจะใช้วันอาทิตย์อีก 1 วัน ในการฝึกซ้อม
โรงเรียนที่ 6 การฝึกซ้อมหลังโรงเรียนเลิก ซ้อมตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ซ้อมวันละ 1.30 ชั่วโมง คือระหว่างเวลา 15.30 - 17.00 น.
การฝึกซ้อมในวันเสาร์ ซ้อมครึ่งวันเช้า ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น. วันอาทิตย์ไม่มีการฝึกซ้อม
การเข้าค่ายฝึกซ้อมจัดในเดือนตุลาคม โดยใช้ระยะการฝึกประมาณ 7 วัน และเดือนเมษายน ประมาณ 15 วัน เป้าหมายคือฝึกทักษะในการบรรเลง ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่มีจุดมุ่งหมายในการฝึก ทุกคนจะทราบดีว่าเดือนเมษายนเป็นการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมรับน้องใหม่ เป็นการฝึกหัวหน้า Section หัวหน้า Part ใหม่ ที่ต้องมีการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการที่จะฝึกซ้อมนักเรียนในเดือน พฤษภาคม บทบาทที่สำคัญคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 จะเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือในการฝึกซ้อม เดือนตุลาคมเป็นการฝึกซ้อมที่จะเน้นเรื่องการแปรขบวน (Display) และการนั่งบรรเลง (Concert) หรือการเตรียมพร้อมในช่วงที่มีงานเข้ามามาก คือเดือน
พฤศจิกายน และ เดือนธันวาคม เดือนมกราคมกิจกรรมทุกอย่างจะงด และกุมภาพันธ์จะปิดวง เนื่องจากเป็นช่วงที่นักเรียนต้องเตรียมความพร้อมในการสอบปลายภาคเรียน
โรงเรียนที่ 7 การจัดทำแผนการฝึกมีแผนการฝึกตลอดปี ว่าช่วงไหนจะปฏิบัติในเรื่องใด อย่างไร เป็นการกำหนดคร่าวๆ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีแผนการฝึกซ้อมที่ตายตัว การปฏิบัติคือเปิดเทอมใหม่จะต้องฝึกนักเรียนใหม่ก่อน เพราะมีปัญหามาโดยตลอด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จบการศึกษาจะออกไปศึกษาต่อที่อื่น เมื่อเปิดเทอมใหม่ก็ต้องฝึกนักเรียนใหม่ ส่วนนักเรียนเก่าจะได้พบครูผู้สอนอย่างมากสัปดาห์ละครั้ง เมื่อนักเรียนใหม่เริ่มเข้าวงได้จะเข้าไปรวมวง และฝึกซ้อมร่วมกับนักเรียนเก่าที่จะพัฒนาในด้านทักษะต่อไป
การฝึกหลังโรงเรียนเลิกใช้เวลา 1.ชั่วโมงครึ่ง ระหว่างเวลา 16.00 - 17.30 น. การฝึกในวันเสาร์ฝึกตลอดวัน ส่วนตารางการฝึกซ้อมแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น ตอนเช้าอาจซ้อมภาคสนาม ตอนบ่ายซ้อมนั่งบรรเลง ซึ่งแผนจะปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาแต่ตัวโครงสร้างของแผนการฝึกซ้อมมี สิ่งที่เป็นตัวแปรคือมีงานเร่งด่วนเข้ามา จุดนี้จะทำให้ตารางต้องเปลี่ยนแปลงมาตลอด บางครั้งไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการฝึกที่กำหนดไว้ได้
การเข้าค่ายฝึกเพื่อติวเข้มไม่ได้ดำเนินการในส่วนนี้ แต่ถ้ามีการส่งวงเข้าประกวดถึงจะมีการเข้าค่าย ส่วนใหญ่จะซ้อมเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่มีการเข้าค่าย และไม่ทำการฝึกซ้อมในเวลาเรียนโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะไม่ได้มุ่งเน้นการเรียนดนตรีอย่างเดียว ดนตรีเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้ โดยมุ่งหวังเพื่อความเพลิดเพลินและการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ การใช้เวลาในชั่วโมงเรียนมาฝึกซ้อมดนตรีมีผลกระทบอย่างมากต่อระบบการเรียน การสอนในปัจจุบัน
โรงเรียนที่ 8 ระเบียบของวงโยธวาทิต นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นนักเรียนที่อยู่ในระบบการบริหารวงโยธวาทิต ระหว่างปิดภาคเรียนจะมีการคัดเลือกหัวหน้าวง และกำหนดให้มีคณะกรรมการแผนกต่างๆ ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแล ส่วนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะให้พัก เพราะนักเรียนต้องเตรียมตัวในการสอบเพื่อศึกษาต่อ บางครั้งเท่านั้นที่จะเข้ามาช่วยวงบ้างในบางโอกาสถ้ามีเวลา นักเรียนที่รับเข้ามาใหม่จะไม่ให้เข้าประจำเครื่องดนตรี แต่จะฝึกในเรื่องพื้นฐานเบื้องต้น นักเรียนจะเริ่มเข้าประจำเครื่องดนตรีเมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเริ่มใช้งานได้ประมาณปลายปี การจัดทำแผนการฝึกกำหนดไว้ตลอดปี และบางปีได้จัดโครงการแสดงคอนเสิร์ต 2 ครั้ง การจัดเพลงให้นักเรียนได้ฝึกซ้อม ภาคเรียนแรกจะเป็นประเภทเพลง Popular ส่วนปลายภาคเรียนที่ 2 เป็นเพลงประเภท Classic ส่วนใหญ่ให้ฝึกซ้อมเพลงที่ง่ายไปจนถึงเพลงที่ยากขึ้น
การฝึกการเดินแถวจะฝึกเป็นบางโอกาสที่จะใช้งานเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นในเรื่องของระเบียบวินัย และระเบียบแถว การสอนภาคทฤษฎีใช้เวลาในขณะที่นักเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตลอดทั้งปี
นักเรียนเลิกเรียนในเวลา 16.00 น. ทางโรงเรียนจัดตารางเรียนพิเศษให้ 1 ชั่วโมง และให้เวลานักเรียนเตรียมความพร้อมและรับประทานอาหาร ดังนั้นจะเริ่มการฝึกซ้อมระหว่างเวลา 17.30 - 19.30 น. ก่อนที่นักเรียนกลับบ้านจะมีการประชุมนัดหมายการซ้อมและจ่ายงานการซ้อมในวัน ต่อไป กำหนดการซ้อมแถวจะซ้อมสัปดาห์ละ 2 วัน วันที่เหลือเป็นการซ้อมนั่งบรรเลง
การฝึกซ้อมในวันเสาร์ กำหนดซ้อมระหว่างเวลา 13.00 - 17.00 น. รวม 4 ชั่วโมง
การเข้าค่ายฝึกติวเข้ม เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความสามารถของนักเรียน แต่การฝึกซ้อมในเวลาปกติที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำนั้น นักเรียนจะได้ทักษะที่ดีพอควร ดังนั้นการเข้าค่ายจะกระทำเมื่อมีงานที่เร่งด่วนเข้ามา ที่ไม่สามารถซ้อมในเวลาปกติได้ทัน ซึ่งการเข้าค่ายแต่ละครั้งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นผู้ บริหาร คณะครู อาจารย์ และผู้ปกครองนักเรียน ระยะเวลาในการเข้าค่ายแต่ละครั้งไม่เกิน 2 สัปดาห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น