บทที่1


การจัดแผนการฝึกวงโยธวาทิต

วงโยธวาทิต ที่จัดการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนมากจนกล่าวได้ว่าทุกโรงเรียนได้ จัดให้มีขึ้นในแต่ละโรงเรียน แต่ผลที่ตามมาคือเรื่องของผลสัมฤทธิ์ของแต่ละวง วงโยธวาทิตบางโรงเรียนประสบความล้มเหลวในการดำเนินการ และบางโรงเรียนประสบผลสำเร็จสูงสุด ทั้งนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ระบบการบริหารจัดการวง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนที่ประความสำเร็จแล้วจะไม่เกิดปัญหาอุปสรรค การทำงานใดๆเมื่อเกิดผลดีย่อมมีผลเสียเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆเป็นตัวแปรสำคัญ
จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาวิจัยระบบการบริหารจัดการวงโยธวาทิต จากจำนวนทั้งสิ้น 11 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนสังกัดการศึกษาเอกชนในต่างจังหวัดจำนวน 8 โรงเรียน โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี โรงเรียนหอวัง โรงเรียนเซ็นต์ดอมินิก และโรงเรียนวัดสุทธิวราราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการจนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับ โรงเรียนในระดับประเทศ และต่างประเทศ จึงได้นำข้อมูลของโรงเรียนต่างๆมานำเสนอเพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้ รับจากความสำเร็จดังกล่าว อันจะเป็นแบบอย่างให้กับวงโยธวาทิตของโรงเรียนต่างๆโดยทั่วไปได้ศึกษาโดย เฉพาะด้านการบริหารจัดการ และเนื้อหาอื่นๆเพื่อให้สอดคล้องและดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน อันจะทำให้การเรียนการสอนวงโยธวาทิตมีพื้นฐานการฝึกที่ดี เกิดผลด้านคุณภาพการบรรเลงให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งประเทศ หรือมีสภาพที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันวงโยธวาทิตหลายๆวงมีปัญหาในเรื่องดังกล่าวอย่างมาก ทำให้การบรรเลงขาดคุณภาพ และขาดการบริหารจัดการที่ดีพอ ทั้งนี้เพราะขาดแหล่งความรู้ที่จะศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาทั้งในด้าน ของเทคนิควิธีการ และระบบการบริหารจัดการที่จะเป็นแบบอย่างได้ ซึ่งเป็นเหตุของตัวแปรสำคัญที่เป็นผลกระทบให้เกิดข้อแตกต่างอย่างที่ได้พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน
 

การนำเสนอในส่วนนี้ได้นำตัวอย่างการบริหารจัดการจากโรงเรียนที่ศึกษาทั้ง 11 แห่ง เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกปฏิบัติตามที่ท่านต้องการ ดังนี้
5.1 การจัดแผนการฝึก
การจัดแผนการฝึกวงโยธวาทิตที่ผ่านมา มีปัญหาที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขในหลายๆด้าน ทั้งนี้เพราะการฝึกวงโยธวาทิตมีองค์ประกอบที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จหลาย ประการ องค์ประกอบต่างๆจะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดมีความสำคัญมากไปกว่ากัน งานทุกอย่างต้องมีการวางแผน การวางแผนที่ดีย่อมเกิดผลที่นำไปสู่ความสำเร็จ ในปัจจุบันวงโยธวาทิตจำนวนมากมักประสบกับปัญหา เพราะไม่มีการวางแผนที่ดีพอทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ คือ
5.1.1 ขาดการกำหนดกฎเกณฑ์ในการฝึก คือ
1) ไม่มีการประชุมเตรียมการวางแผนการฝึกซ้อม
2) ไม่กำหนดเนื้อหาและให้สัดส่วนความสำคัญ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ถูกต้องในการฝึกซ้อมฝึกซ้อม
3) ไม่กำหนดระยะเวลาและวางแผนการฝึกซ้อมที่ชัดเจน เช่นการฝึกซ้อมประจำวัน การฝึกซ้อมประจำสัปดาห์ และการฝึกซ้อมตลอดปี
5.1.2 ครูผู้สอนขาดประสบการณ์ ประสบการณ์ของครูผู้สอนมีส่วนสำคัญ ที่จะทำให้วงโยธวาทิตประสบความสำเร็จ เพราะผู้ที่จะสอนวงโยธวาทิตได้ต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ ต้องมีเทคนิควิธี และในบางครั้งต้องเอาตัวรอดได้ในทางจิตวิทยา ไม่มีใครที่จะเก่งในทุกเรื่อง แม้คนที่ไม่เป็นดนตรีเลยก็สามารถนำวงโยธวาทิตไปสู่ความสำเร็จได้ ถ้ามีประสบการณ์ที่มากพอ
5.1.3 ขาดข้อมูลในการปฏิบัติ ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งต้องสั่งสมเพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงวง โยธวาทิต ครูผู้สอนต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ทำ จึงจะทำให้งานที่ทำสำเร็จลุล่วง
5.1.4 ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน คือไม่สามมารถที่จะวางแผนว่าสิ่งใดควรกระทำก่อนสิ่งใดควรกระทำทีหลัง ไม่มีขั้นตอนที่เด่นชัดในการทำงาน บางครั้งรีบเร่งในการฝึกจนขาดขั้นตอนที่ถูกต้อง ในทางปฏิบัติหลายโรงเรียนมีปัญหาเนื่องจากคนที่ไม่เข้าใจดนตรี มักจะมีอำนาจในการสั่งการ โดยไม่ทราบว่าการฝึกดนตรีต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนมากมาย สิ่งที่เขาเหล่านั้นต้องการก็คือเมื่อมีวงดนตรีแล้วจะต้องบรรเลงได้ ครูดนตรีหลายคนมีขั้นตอนการฝึกที่ดี แต่เมื่อพบปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องสนองตอบความต้องการ เพื่อลบล้างคำปรามาสว่า “ไม่เห็นได้เรื่อง ไม่มีความสามารถ เปิดเทอมหลายอาทิตย์แล้วเพลงชาติยังเป่าไม่ได้ สู้ครูคนเก่าไม่ได้” เพราะเขาเหล่านั้นไม่ทราบว่าดนตรีย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลตลอด ในทุกๆปีมีนักเรียนที่จบการศึกษาจำนวนมาก จึงต้องสร้างใหม่เพื่อทดแทนนักเรียนที่จบการศึกษาไป แต่ครูผู้สอนก็จำยอมที่ต้องตอบสนอง ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลเสียตามมามากมาย
5.1.5 ไม่มีตลาดความรู้ให้ศึกษา ตั้งแต่เริ่มมีวงดนตรีขึ้นในประเทศไทยยังไม่มีใครเขียนตำราที่ชี้ชัดใน เรื่องการจัดแผนการฝึกเลยแม้แต่เล่มเดียว ที่ปฏิบัติกันมามักเป็นเรื่องของระบบครูพักลักจำ บรรพบุรุษทำอย่างไรก็สืบสานกันต่อๆมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบพี่สอนน้อง พี่เคยฝึกอย่างไรน้องก็รับอย่างนั้นเป็นเช่นนี้เรื่อยมา
5.1.6 การใช้แนวทางของต่างชาติ บางครั้งไม่ได้ผลโดยเฉพาะสื่อสารทางภาษา มีตำราหลายเล่มที่เขียนไว้ของต่างชาติ เช่น อังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น ในแนวทางการเขียนมักเน้นไม่ตรงจุด ทำความเข้าใจยากสำหรับการเรียนรู้ ตำราต่างๆเหล่านั้นมักเขียนในเชิงพรรณนา ไม่ชี้ชัดให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทำให้เกิดความล้มเหลวทางการศึกษาตามมา
5.1.7 เวลาในการฝึกซ้อมไม่เพียงพอ ปัจจุบันวงโยธวาทิตอยู่ในรูปของการจัดกิจกรรม โดยหลักสูตรไม่ได้กำหนดให้จัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษา ส่วนการจัดกิจกรรมเป็นเรื่องของนักเรียนที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด โดยหลักการแล้วจะไม่มีการเรียนการสอน ทำให้ขาดหลักธรรมชาติของวิชาดนตรีอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้กิจกรรมจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ครูผู้สอนต้องเข้าไปมีบทบาทในการชี้นำจึงจะทำให้วงโยธวาทิตประสบความสำเร็จ ได้ การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนกำหนดไว้เพียงสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ครูผู้สอนต้องบริหารเวลานอกเหนือจากเวลาที่หลัก สูตรกำหนด โดยการกำหนดการฝึกซ้อมนอกเวลาเรียน ทั้งนี้เพราะดนตรีเป็นเรื่องของการฝึกทางทักษะ ความรู้ความสามารถจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ระยะเวลามาก แต่ที่เป็นปัญหาคือครูผู้สอนไม่เป็นผู้เสียสละ ไม่ให้เวลากับงานที่รับผิดชอบ และไม่มีการวางแผนที่จะให้เกิดการเรียนรู้หลังโรงเรียนเลิก วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ หรือในระหว่างปิดภาคเรียน
สิ่งที่กล่าวทั้งหมดข้างต้นคือปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง การจัดทำแผนการฝึก เป็นการวางแผนที่ต้องเน้นจุดมุ่งหมายอย่างเด่นชัด เพื่อให้การฝึกซ้อมบรรลุวัตถุประสงค์ และทั้งนี้ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับครูผู้สอนและนักเรียน การได้อยู่ร่วมกันและปฏิบัติงานร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดความเชื่อมั่น ความมั่นใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นผลให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวของหมู่คณะอีก ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น