5.3 สรุปผลแนวทางในการจัดแผนการฝึก
จากการศึกษาโรงเรียนที่ศึกษาจำนวน 11 โรงเรียน มีแนวทางในการจัดทำแผนการฝึกสรุปในภาพรวม คือ
5.3.1 โรงเรียนที่มีโอกาสฝึกซ้อมในตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ตั้งแต่เวลา 07.00
- 08.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงสั้นเหมาะสำหรับการฝึกซ้อมทางด้านพื้นฐาน เช่น
การฝึกเสียงยาว (Long Tone) การใช้ลิ้น (Tunging) การใช้ลม (Slur)
และแบบฝึกหัดต่างๆ ในตอนเช้าการฝึกซ้อมจะได้ผลดี
แต่ขึ้นอยู่กับว่าครูผู้สอนต้องการให้นักเรียนได้อะไรในช่วงนี้
การประเมินผลว่าได้ผลหรือไม่ได้ผลครูผู้สอนจะให้นักเรียนปฏิบัติในตอนเย็น
ว่าสิ่งที่ฝึกซ้อมในตอนเช้าและตอนกลางวัน การฝึกซ้อมดีขึ้นหรือไม่ ใน 1
สัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์
ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าในการฝึกซ้อมแต่ละครั้งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลย
การแก้ไขทำได้โดยการเปลี่ยนตาราง
เพราะนักเรียนยังไม่มีความสนใจในเรื่องนั้นๆพอ
หรืออาจเปลี่ยนเป็นการฝึกเทคนิคบ้าง
5.3.2 การฝึกซ้อมตอนพักกลางวัน ระหว่างเวลา 12.15 - 13.00 น. เป็นการซ้อม
Section หรือซ้อม Part โดยการฝึกแบบฝึกหัด และบทเพลงที่ได้รับมอบหมาย
ในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถที่จะพัฒนาให้นักเรียนได้ฝึกฝนความชำนาญ
และทบทวนสิ่งที่ยังทำไม่ได้ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
5.3.3 การฝึกตอนเย็นหลังโรงเรียนเลิก ระหว่างเวลา 16.00 - 18.00 น.
เป็นการทบทวนการซ้อมในตอนเช้าและตอนกลางวัน เพื่อเป็นการประเมินผล
ถ้าตอนเช้าและตอนกลางวันไม่มีการฝึกซ้อมในช่วงเวลาตอนเย็น
จะต้องแบ่งเวลาการซ้อมตามขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การ Warm - up การแยก Section
การรวม Part หรือการรวมวง
5.3.4 การฝึกซ้อมในวันหยุด
เป็นวันที่ทั้งครูผู้สอนและนักเรียนมีเวลาให้กับการฝึกซ้อมมากที่สุด
เพราะเป็นวันที่ไม่มีการจัดการเรียนการสอน
5.3.5 การฝึกซ้อมเมื่อเชิญวิทยากรพิเศษมาให้ความรู้
ซึ่งการเชิญวิทยากรพิเศษเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้กับนักเรียน
ได้อย่างดียิ่ง โดยเฉพาะวิทยากรที่มีความชำนาญในแต่ละเครื่องมือโดยตรง
จะสามารถนำความรู้ถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลดี
5.3.6 การฝึกติวเข้มโดยเข้าค่ายฝึกซ้อม เป็นช่วงเวลาที่ให้กับดนตรีโดยตรง
สามารถฝึกซ้อมได้ตามกระบวนการได้เป็นอย่างดีในช่วงการเข้าค่ายฝึกซ้อม
การเข้าค่ายนักเรียนจะได้ฝึกในหลายๆด้าน
นอกจากการฝึกซ้อมดนตรีแล้วยังฝึกการอยู่ร่วมกัน การฝึกความเสียสละ
การฝึกความอดทน และสิ่งที่จะได้รับอีกมากมาย
ถือว่าเป็นช่วงเวลาการฝึกซ้อมที่ดีที่สุด
5.3.7 การฝึกภาคทฤษฎีและการฝึกภาคปฏิบัติ จะแบ่งได้เป็น 2 กรณี
คือการฝึกที่เรียนทฤษฎีก่อนแล้วจึงฝึกภาคปฏิบัติ
และการเรียนทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ โดยการใช้แบบฝึกหัดช่วยในการฝึก
ซึ่งประสบความสำเร็จได้ทั้ง 2 กรณี
5.3.8 การฝึกระเบียบวินัยเป็นการฝึกที่กระทำในเบื้องต้น
เมื่อนักเรียนเกิดความพร้อมในการที่จะฝึกดนตรีแล้ว
โรงเรียนต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงเรื่องของระเบียบวินัย
เพราะระเบียบวินัยถือเป็นหัวใจของการฝึกซ้อมวงโยธวาทิต
การวางแผนในเรื่องการฝึกระเบียบวินัยจึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะ
ต้องเตรียมการฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัยอย่างแท้จริง
5.3.9 การตรวจเยี่ยมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ได้มีการกำหนดความรับผิดชอบซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของขวัญและกำลังใจที่ผู้
ปฏิบัติจะได้รับ
ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว
5.3.10 การย้ายสถานที่ฝึกซ้อมในบางโอกาส
เพื่อให้นักเรียนได้ตื่นตัวในการฝึกควรมีการวางแผนในการย้ายสถานที่ฝึกซ้อม
บ้างเมื่อมีเวลาพอ
5.3.11
การสนับสนุนให้นักเรียนได้หาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมได้มีการวางแผนใน
การให้นักเรียนได้เข้าร่วมการสัมมนาหรือจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ในเครื่อง
ดนตรีแต่ละชนิดมาให้ความรู้กับนักเรียนในบางโอกาส
จากการศึกษาการจัดทำแผนการฝึกของโรงเรียนที่ศึกษาจำนวน 11 โรงเรียน
มีการจัดแผนการฝึกที่มีทั้งความคล้ายกัน และมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและการบริหารเวลาของโรงเรียนนั้นๆ คือ
โรงเรียนที่ 1 ความสำคัญในการฝึกซ้อมคือการวางแผน
ครูผู้สอนไม่ควรทำงานอะไรที่ข้ามขั้นตอน การฝึกซ้อมในเบื้องต้นที่สำคัญ คือ
การใช้ลมอย่างถูกต้องและถูกวิธี การหายใจเข้าหายใจออก
การที่เราออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความพร้อมทางร่างกาย
เพื่อให้ปอดขยายตัว การเก็บลมทดสอบโดยการเป่ากระดาษให้พุ่งออก
นักเรียนจะต้องประคับประคองว่าใน 4 จังหวะนั้นกระดาษจะต้องอยู่นิ่ง
ถ้าทำไม่ได้แสดงว่าการบังคับลมยังไม่สม่ำเสมอ การฝึกการใช้ลมฝึกประมาณ 2
สัปดาห์ โดยใช้เวลาในครึ่งวันเช้าเท่านั้น
ระยะต่อไปคือการใช้กำพวดหรือปากเป่า วิธีการจรดปาก
การปฏิบัติคือถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่มีลิ้นจะเอาลิ้นออก ในการเป่าจะพบว่า
ถ้านักเรียนเป่าธรรมดาโดยไม่มีปากเป่าจะเป่าได้ 4 จังหวะ
แต่ถ้าเป่าในปากเป่ามักจะได้เพียง 2 จังหวะเท่านั้น
จึงให้นักเรียนได้เปรียบเทียบการใช้ลมและการบังคับลม
ขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน
ต่อจากนั้นจะเริ่มสอนโน้ตสากลอย่างง่ายๆ และใช้ปากเป่าเข้ากับเครื่องดนตรี
การฝึกซ้อมจะเริ่มในช่วงปิดภาคเรียน
เหตุที่ฝึกซ้อมในระยะนี้เพราะจะทำให้เกิดความอยากที่จะเรียนรู้
เพราะการรับสมัครนักเรียนจะเริ่มในราวเดือนมกราคม
ถ้าไม่เริ่มต้นฝึกเลยแต่เว้นระยะไปฝึกในเดือนพฤษภาคมจะทำให้นักเรียนเบื่อ
หน่ายและเป็นผลให้ไม่อยากเรียน
ในการฝึกเช่นนี้จะประสบความสำเร็จได้ทุกคนต้องมีความเสียสละให้กับงาน
โดยเฉพาะครูผู้สอนต้องเสียสละอย่างมาก
เพราะนักเรียนยังเสียสละเวลาในการฝึกซ้อมได้
แต่ถ้าครูผู้สอนไม่เป็นผู้เสียสละหรือเป็นผู้นำ
นักเรียนก็จะมาบ้างไม่มาบ้าง ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมาก
การดำเนินการเรื่องการจัดแผนการฝึกทำโดยคณะกรรมการบริหารวงโยธวาทิต
ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
โดยมีการคัดเลือกประธานซึ่งเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ยังเป็นประธานของวงโยธวาทิตอยู่
ส่วนประธานใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกจะรับนโยบายของประธานคนเก่า
ครูผู้สอนจะฝึกนักเรียนใหม่เฉพาะเนื้อหาการเรียนเบื้องต้น
และนักเรียนรุ่นพี่จะรบช่วงต่อจากครูผู้สอนเพื่อเสริมความสมบูรณ์ของวง
และให้นักเรียนใหม่ร่วมหาประสบการณ์กับนักเรียนรุ่นพี่
การกำหนดการฝึกซ้อม กำหนดไว้ คือ
การซ้อมปกติ ฝึกตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ กำหนดการซ้อมวันละ 1
ชั่วโมง 15 นาทีระหว่างเวลา 15.45 - 17.00 น. เป็นการซ้อมบทเพลงตามที่กำหนด
โดยแยกฝึก Section รวม Part และรวมวง เพลงที่ฝึกคือเพลงพิธีการต่างๆ
เพลงนั่งบรรเลง (Concert) และเพลงเดินบรรเลง (Marching)
การฝึกซ้อมระหว่างพักกลางวัน กำหนดการฝึกซ้อมประมาณวันละ 45 นาที
เป็นการฝึกเกี่ยวกับเทคนิคการบรรเลง บันไดเสียง การใช้ลิ้นลม
และแบบฝึกหัดต่างๆ
การฝึกซ้อมในช่วงพักกลางวันนี้ครูผู้สอนให้โอกาสกับนักเรียนที่จะเลือกฝึก
ซ้อมในสิ่งที่ตนเองยังไม่คล่อง โดยไม่มีการกำหนดเนื้อหาสาระตายตัว
เวลาพักกลางวันครู อาจารย์ ที่สอนวิชาอื่นๆจะไม่มีการนัดนักเรียน
สอบหรือนัดสอนเสริม เพราะครู อาจารย์
ทุกท่านรู้ว่านักเรียนต้องทำกิจกรรมในช่วงนั้น แต่ถ้าจำเป็นจริงๆครู
อาจารย์ จะขอความร่วมมือก่อนทุกครั้ง จึงไม่เกิดปัญหาตามมา
การฝึกซ้อมในวันหยุด วันหยุดจะซ้อมเฉพาะวันเสาร์
ช่วงเช้านักเรียนจะเรียนเสริม ความรู้โดยไม่ต้องเสียเงิน
ทางโรงเรียนจ้างครู อาจารย์
สอนให้สำหรับนักเรียนที่ทำกิจกรรมให้กับโรงเรียน จัดการสอนให้ 3 วิชา
คือวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
เรื่องนี้ครูผู้สอนวิชาดนตรีจะหารือกับฝ่ายวิชาการ
ในการที่จะให้สิ่งตอบแทนกับนักเรียนที่ทำกิจกรรมให้โรงเรียน
เพราะถือว่าเป็นผู้เสียสละและสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนมาโดยตลอด
ซึ่งเรื่องนี้นักเรียนเองอาจไม่คิดแต่ผู้ปกครองนักเรียนบางท่านอาจจะคิดใน
เรื่องนี้ ที่โรงเรียนน่าจะจัดเป็นสวัสดิการให้กับนักเรียน
ทางฝ่ายวิชาการเห็นด้วยในเรื่องดังกล่าว
ซึ่งเรื่องนี้ทางสมาคมผู้ปกครองและครูเข้ามามีส่วนช่วยเหลือด้านการเงินเป็น
ค่าจ้างให้กับครูผู้สอน ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงเรียนส่วนหนึ่ง
ต่อมาภายหลังจึงถือเป็นนโยบายสืบต่อมา ดังนั้นนักเรียนทุกคนต้องมาเรียน
ถ้าขาดเรียนต้องชี้แจงให้ครูผู้สอนทราบ ส่วนช่วงบ่ายจะเริ่มฝึกซ้อมดนตรี
ตั้งแต่ เวลา 13.00 - 16.00 น.
การฝึกซ้อมระหว่างปิดภาคเรียน จะกำหนด 2 ครั้ง คือ กลางภาค และปลายภาค
โดยแบ่งการฝึกซ้อมเป็น 2 ช่วง คือช่วงเช้าฝึกเรื่องการใช้ลม
ช่วงบ่ายฝึกเทคนิคการปฏิบัติเครื่องดนตรีเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้
การเข้าค่ายฝึกซ้อม จะเข้าค่ายเพื่อเตรียมการแข่งขันเท่านั้น
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะฝึกซ้อมตามปกติ
การเข้าค่ายในบางโอกาสต้องดูที่ความจำเป็นว่ามีมากน้อยเพียงใด
เพราะอย่างน้อยปัญหาที่ตามมาคือเรื่องอาหารเลี้ยงนักเรียน
ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าค่ายฝึกซ้อมแล้ว
ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็นฝ่ายดำเนินการทั้งหมดโดยการสั่งการไปยังผู้เกี่ยว
ข้องทุกฝ่าย ในขณะที่ครูดนตรีไม่ต้องทำอะไรเลย
เพียงแต่เสนอโครงการและชี้แจงนโยบายให้กับทางโรงเรียนทราบ
การเข้าค่ายจะต้องเป็นไปตามแผนที่เสนอไว้เท่านั้น
เดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนจะไม่มีการรับงาน
เพราะช่วงดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียน
และเป็นช่วงที่เปิดภาคเรียนใหม่
ทางวงมีการปรับเปลี่ยนนักเรียนเพราะมีนักเรียนส่วนหนึ่งที่จบการศึกษา
ฉะนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นช่วงของการปรับปรุงวงเท่านั้น
ลักษณะเพลงที่ฝึกซ้อมเป็นเพลงที่ใช้ในโอกาสต่างๆ เพลงพิธี
เพลงบรรเลงภาคสนาม (Marching) และเพลงสำหรับนั่งบรรเลง (Concert)
แต่ถ้ามีงานที่จะต้องไปนั่งบรรเลง (Concert)
ตลอดทั้งอาทิตย์ก็จะฝึกซ้อมเพลงนั่งบรรเลงทั้งหมด
เมื่อจบจากงานนั่งบรรเลงแล้ว ถ้ามีงานเดินบรรเลง (Marching)
ก็จะนำเพลงเดินบรรเลงเพลงเก่าๆที่เคยฝึกซ้อมมาแล้ว
นำมาฝึกซ้อมเพื่อทบทวนและนำไปใช้ในการเดินบรรเลง
การออกงานบริการชุมชน เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นการแสดงออกทางดนตรี
ให้ปรากฏต่อสาธารณชน อาจกล่าวได้ว่าการไปบรรเลงในที่ต่างๆคือการฝึกซ้อม
แต่เป็นการฝึกซ้อมนอกสถานที่ ดังนั้นควรวางแผนไว้ล่วงหน้าคร่าวๆว่าใน 1 ปี
ต้องออกไปบริการชุมชนประมาณกี่ครั้ง
เพื่อให้กระทบกระเทือนต่อการจัดทำแผนการฝึกซ้อมน้อยที่สุด
การออกไปงานในระหว่างเรียนบางครั้งเป็นสิ่งจำเป็นจึงต้องทำความเข้าใจกับ
หลายๆฝ่าย ถึงผลได้ผลเสียที่จะตามมา
ตราบใดที่โรงเรียนจะต้องช่วยเหลือชุมชนแล้วก็เป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้
บางครั้งมีปัญหาบ้างในเพื่อนร่วมงานแต่ถ้าสามารถทำความเข้าใจ หรือหาข้อยุติ
สิ่งต่างๆก็จะราบรื่นด้วยดี
และผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดคือผู้บริหารโรงเรียน
ครูผู้สอนควรที่จะเข้าปรึกษากับผู้บริหารเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ
การไปงานในเวลาเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
เพราะเป็นความรับผิดชอบของทางโรงเรียนอยู่แล้ว นอกจากวันเสาร์ อาทิตย์
ทางโรงเรียนต้องแจ้งให้ผู้ปกครองได้ทราบทุกครั้ง ส่วนการสั่งการให้ครู
อาจารย์ ปฏิบัติ
เป็นหน้าที่ตามสายงานโดยทำตามขั้นตอนลงมาทั้งนี้ครูผู้สอนไม่ต้องแจ้งซ้ำ
ซ้อน
ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานที่รับผิดชอบในการบอกหรือสั่งการว่านักเรียนไป
ทำกิจกรรมที่ไหน อย่างไร โดยครู
อาจารย์ทุกคนจะต้องไปอ่านบันทึกประจำวันเพื่อรับทราบการสั่งการต่างๆประจำ
วัน แต่เพื่อมารยาทนักเรียนต้องไปบอกครู อาจารย์ ประจำวิชาด้วยจะเป็นการดี
เพื่อย้ำเตือนและกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
โรงเรียนที่ 2 การจัดทำแผนการฝึกเป็นการกำหนดที่มีความยากลำบากมาก
เพราะลักษณะการจัดการเรียนการสอน
ทำให้การฝึกซ้อมดนตรีมีปัญหามากในการกำหนดการฝึกซ้อม
เพราะนักเรียนจะเรียนพิเศษที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียนทุกคน
โดยนักเรียนจะเสร็จสิ้นการเรียนในแต่ละวันในเวลา 16.45 น.
ดังนั้นจึงหาเวลาในการฝึกซ้อมดนตรีได้ยากมาก
แต่มีวิธีการแก้ไขโดยการเข้าค่ายฝึกซ้อมตลอด
การวางแผนในการกำหนดการจัดทำแผนการฝึกจะมีการวางแผนร่วมกันในกลุ่มครูผู้สอน
ว่าจะทำจุดไหนอย่างไร ทั้งนี้ได้มีการปรึกษาหารือตลอดเวลา
คือหลังจากนักเรียนเสร็จสิ้นภารกิจทางการเรียนแล้วจะให้นักเรียนได้ทำ
การบ้านและพักผ่อนรับประทานอาหาร การฝึกซ้อมดนตรีจะเริ่มเวลา 19.00 - 21.30
น. เป็นช่วงการฝึกซ้อมเพื่อแก้ไขในส่วนที่ยังบกพร่องให้ดีขึ้น
และปรับความสมดุลในการบรรเลง ซึ่งแผนการจัดแบ่งเป็นการซ้อม Part 3 วัน
รวมวง 2 วัน หรือซ้อม Part 2 วัน รวมวง 3 วัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่จะให้แยกฝึกซ้อมเป็นกลุ่มเล็กไปก่อน
ในช่วงเวลาดังกล่าว
นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติโดยครูผู้สอนคอยให้คำแนะนำในส่วนที่ไม่ถูกต้อง
การเข้าค่ายฝึกซ้อมอย่างน้อยรวมเวลาแล้วประมาณ 8 เดือน
ซึ่งระยะเวลาเวลาในการเข้าค่ายฝึกซ้อมอย่างน้อยประมาณ 15 วัน ต่อครั้ง
วันเสาร์และวันอาทิตย์นักเรียนจะเรียนพิเศษจึงต้องให้สิทธิในส่วนนี้กับนัก
เรียน การเข้าค่ายฝึกซ้อมในเวลากลางวันให้นักเรียนได้เรียนตามปกติ
ส่วนช่วงกลางคืนจึงเป็นเวลาของการฝึกซ้อมดนตรี
โรงเรียนให้การสนับสนุนในทุกกิจกรรม
แต่ใครจะทำกิจกรรมใดก็ตามจะต้องไม่กระทบต่อการเรียนของนักเรียนซึ่งเป็น
อุดมคติที่โรงเรียนกำหนดส่วนงานบริการชุมชนนั้น
ทางโรงเรียนไม่มีนโยบายในเรื่องนี้
จะมีก็เพียงผู้มีพระคุณกับทางโรงเรียนเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น