บทที่2

เบนท์เล และคนอื่นๆ (Bentley Shellahamer, et al., 1986: 60 - 61) กล่าวพอสรุปได้ว่า “ปัจจุบันการวางแผนการกำหนดการฝึกที่ดีที่สุดคือต้องมีกลุ่มคณะทำงาน (Staff) ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการสอน และการที่จะทำให้การซ้อมดนตรีประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีการวางแผนที่ดีซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสอนและการฝึกซ้อม”
จากแนวคิดของ ชาร์ล อาร์ ฮอฟเฟอร์ ( Charles R. Hoffer, 1989: 269) จากมหาวิทยาลัยในฟลอริดา กล่าวพอสรุปได้ว่า การฝึกปฏิบัติดนตรีในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จได้นั้น นักเรียนเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ คือ
1. เป็นสิ่งที่แน่นอนที่นักเรียนจะสามารถดูแลและช่วยเหลือในการแสดงให้สู่จุด หมาย เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะต้องฝึกอย่างหนักในบางสิ่งบางอย่าง เพื่อเรียนรู้ในการปฏิบัติ
2. ดนตรีปฏิบัติสามารถที่จะให้การศึกษาต่อผู้ฟังเกี่ยวกับเสียงดนตรี และในหลักสูตรของโรงเรียนดนตรีปฏิบัติ เป็นการแสดงไหวพริบ เป็นการสร้างชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในชั้นเรียน
3. การอยู่ร่วมกันนั้นในทางจิตศาสตร์แล้ว เด็กจะมีความรักใคร่เพิ่มมากขึ้นจากการร่วมมือกันในการบรรเลงดนตรี คนรุ่นหนุ่มสาวจะได้รับความสำเร็จได้ต้องรู้จักกระทำให้เกิดความสำเร็จในการ เป็นผู้ปฏิบัติ และจะทำให้ได้มาซึ่งความเที่ยงตรงและความไว้วางใจจะเกิดมีขึ้นในผู้ฟัง
4. ทุกคนต้องมีสำนึกในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติเครื่องดนตรี
5. ดนตรีปฏิบัติเป็นประโยชน์อย่างมากในโรงเรียน การแสดงจะเกิดความเร้าใจต่อเมื่อทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจกัน
จากแนวคิดของ เบนเบนท์เล และคนอื่นๆ (Bentley Shellahamer, et al., 1986: 44) กล่าวพอสรุปได้ว่า สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้วงโยธวาทิต (Military Band) ประสบผลสำเร็จประกอบด้วยการศึกษาจุดมุ่งหมาย คือ ต้องยอมรับนักเรียนที่มีส่วนร่วมในวงดนตรี การช่วยเหลือให้เด็กเหล่านั้นประสบความสำเร็จ ต้องคอยดูแลทั้งด้านสุขภาพร่างกาย ทักษะในการบรรเลงร่วมกัน และความสามารถเฉพาะตัว นักเรียนส่วนใหญ่จะรักความก้าวหน้ามีความผูกพันกับดนตรี แต่เด็กบางคนมีขอบเขตในการรับรู้ บางคนเรียนไม่ทันเพื่อน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยไม่ปล่อยให้เขาเหล่านั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง
เบนท์เล และคนอื่นๆ (Bentley Shellahamer, et al., 1986: 60-61) ได้แบ่งการฝึกซ้อมไว้ดังนี้
ตารางการฝึกซ้อมหลังโรงเรียนเลิก
3.15 นักดนตรีทั้งหมดพร้อมกันที่จุดนัดพบ ผู้นำกลุ่มรายงานความพร้อม
3.17 คลายกล้ามเนื้อ 32 ครั้ง ตามเวลาที่กำหนด กระโดดขึ้นลง 10 ครั้ง งอเข่าข้างหนึ่ง 5 ครั้ง ก้มลงแตะนิ้วเท้า 5 ครั้ง
3.20 1. การฝึกเสียงลมยาว สลับเสียง คือ Bb - C, Bb - D, Bb - E, Bb - F, Bb - G โดยการปฏิบัติดังนี้
1) การควบคุมลมหายใจในการใช้เสียงหนัก (เน้นท่าทางและเทคนิคในการควบคุมลมหายใจอย่างถูกต้อง)
2) เน้นความหนักแน่น “จุดศูนย์รวม” และ “จุดศูนย์กลาง” ของเสียง

3) ผู้เล่นเครื่องประกอบจังหวะต้องบริหารกล้ามเนื้อ เพราะรูปร่างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
2. การปรับเสียง
3. การร้อง ให้เน้นในสิ่งต่อไปนี้
1) การควบคุมความสูงต่ำของระดับเสียง
2) การเพิ่มกำลังให้เสียงมีคุณภาพดี
3) การพิจารณาแก้ไขให้ถูกต้องในเรื่องของเทคนิคการจบประโยค
3.28 ทบทวนหลังจากจบการฝึกซ้อม และสิ่งจำเป็นคือการอบอุ่นร่างกาย
3.30 ให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้นำกลุ่มที่ทำหน้าที่ในการฝึก (หยุดพักการซ้อม 10 นาที)
3.40 รวมวงเพื่อการซ้อมภาคสนาม และแบ่งเป็นกลุ่มเครื่องในการซ้อมเพื่อหาข้อผิดพลาดในแต่ละประโยคเพลงและการฝึกทบทวนของเดิม
4.50 รวมวงฝึกทบทวนตั้งแต่ต้น โดยเน้นในจุดที่มีความบกพร่องในการซ้อม
4.58 แจ้งข้อผิดพลาดในการซ้อม เพื่อความแน่ใจและนำไปปรับปรุงในการซ้อมครั้งต่อไป
เบนท์เล และคนอื่นๆ (Bentley Shellahamer, et al., 1986: 56 - 58) ได้กำหนดแบบการฝึกในวันหยุด หรือการฝึกเพื่อติวเข้ม ซึ่งแบ่งเวลาการฝึกเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1
วันจันทร์
8.30 - 9.30 ประชุมนัดหมายการซ้อม (ห้องดนตรี)
9.30 - 10.00 พัก
10.00 - 12.00 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
6.15 - 8.00 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
วันอังคาร
8.00 - 9.30 การประชุมเรื่องทั่วๆไป และการฝึกการบรรเลง (ห้องดนตรี)
9.30 - 10.00 พัก
10.00 - 12.00 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
วันพุธ และวันพฤหัสบดี (เหมือนวันอังคาร)
วันศุกร์
8.00 - 8.45 เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดการแสดง
9.00 - 11.15 ประชุมทบทวน (สนามฝึก)
- การรวมวงใหญ่
- กลุ่มรุ่นพี่
- กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ
- กลุ่มเบส
- กลุ่มธง
- การบรรเลงเดี่ยว
แบบที่ 2
วันจันทร์
8.00 - 9.30 ประชุมเรื่องทั่วๆไป ในเรื่องการฝึกการบรรเลง (ห้องดนตรี)
9.30 - 10.00 พัก
10.00 - 12.00 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
6.15 - 7.00 ฝึกการบรรเลง (ห้องดนตรี)
7.00 - 8.30 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
8.30 - 9.00 ฝึกการบรรเลง (ห้องดนตรี)
วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี (เหมือนวันจันทร์)
วันศุกร์
8.00 - 9.30 ฝึกการบรรเลง (ห้องดนตรี)
9.30 - 10.00 พัก
10.00 - 12.00 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
5.30 - 7.45 ดนตรีสนาม (สนามฝึก)
8.00 - ? กิจกรรมนันทนาการ (โดยรุ่นพี่)
ภาสกร สุวรรณพันธ์ (นาวาตรีภาสกร สุวรรณพันธ์, สัมภาษณ์) ได้กำหนดแนวทางในการฝึก และตารางฝึกไว้คือ
แนวทางในการฝึกที่ดี ประกอบด้วย
1. การสอนให้เด็กรู้นิ้ว
2. ให้เป่าเสียงเดียวกัน (Unison) ทั้งวง
3. ในขณะเป่าจะต้องฝึกให้ผู้เรียนฟังด้วยหู
4. การฝึกการหายใจอย่างถูกวิธี
5. การ Warm-up เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากในการฝึกซ้อม ดังนั้นจึงต้องให้เวลาตรงนี้มากพอสมควร โดยเฉลี่ยประมาณ 30 นาที สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ
1) การฝึกเป่า 4 จังหวะ พร้อมกัน
2) เป่าคอร์ดแล้วให้ฟังและแยกเสียงให้ถูกต้อง
3) การเน้นความดัง-เบา ในแต่ละแนวของเครื่องมือ ให้เกิดความเคยชิน ถ้าไม่เน้นในเรื่องดังกล่าวเด็กจะแข่งกันเป่า
การกำหนดตารางฝึก
09.00 - 09.30 น. Warm - up
09.30 - 10.30 น. บรรเลงเพลงง่ายๆที่เน้นการประสานเสียง (Harmony) เพื่อจะ
ให้เกิดทักษะ
10.30 - 10.45 น. พัก
10.45 - 12.00 น. ฝึกเพลงที่ค่อนข้างยาก
13.00 - 16.00 น. ซ้อมเพลงที่ยากขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น